วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คอมพิวเตอร์กราฟิกและอนิเมชัน


คอมพิวเตอร์กราฟิกและอนิเมชัน

      ความหมายกราฟิก
กราฟฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก 2 คำคือ
          1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน
          2. Graphein หมายถึง การเขียน
       ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้
กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
กราฟิกประกอบด้วย
1. ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
2. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand
3. คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
4. HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)


source:http://intreelek2.blogspot.com/2007/09/blog-post_1543.html
ความหมายคอมพิวเตอร์กราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
ภาพกราฟิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-กราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์
-กราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds Max โปรแกรม Maya เป็นต้น
.
กราฟิกกับสังคมปัจจุบัน
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้วิวัฒนาการไปค่อนข้างรวดเร็ว การใช้ระบบการติดต่อสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น มีการกระจายของข้อมูลไปอย่างรวดเร็ว โดยอาจเป็นการกระจายข้อมูล จาก ที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง และการที่จะให้คนอีกซีกโลกหนึ่งเข้าใจความหมายของคนอีกซีกโลกหนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ง่ายนักเนื่องมาจากความแตกต่างกันทั้งทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม สภาพภูมิประเทศ สภาพดินฟ้าอากาศความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการใช้งานกราฟิกที่ดีที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนถูกต้อง จะช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้ เข้าใจกันได้ เกินจินตนาการร่วมกัน อีกทั้งยังเกิดทัศนคติที่ดีต่อกันด้วย หรือถึงขั้นคล้อยตามให้ปฏิบัติตามได้



ถ้าจะให้คำจำกัดความง่าย ๆ แล้ว  คอมพิวเตอร์กราฟิก (computer graphics)  คือ  การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพโดยการวาดภาพกราฟิกหรือนำภาพมาจากสื่ออื่น ๆ เช่น วีดิทัศน์  ภาพยนตร์  กล้องถ่ายรูป  ภาพกราฟิกเหล่านี้ประกอบด้วย  เส้น  สี  แสง  และเงาต่าง ๆ  สามารถแสดงออกทางจอภาพหรือพิมพ์ออกมาทางอุปกรณ์  เช่น  เครื่องพิมพ์ได้
               นอกจากนี้ยังใช้ในความหมายอื่น  เช่น  คอมพิวเตอร์วาดภาพซึ่งหมายถึง  การใช้ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการวาดภาพสำหรับวาดภาพต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์  และหมายถึงวิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งในวิชาคอมพิวเตอร์ที่เน้นการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพ  และแสดงแผนภูมิที่เกิดจากการป้อนข้อมูลให้คอมพิวเตอร์
               ในการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์นั้น  มีองค์ประกอบหลายอย่าง  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์รับเข้า (input device)  ที่จะรับข้อมูลเข้า  และอุปกรณ์ส่งออก (output device)  สำหรับแสดงผล  ซอฟต์แวร์และบุคลากรที่จะสร้างภาพกราฟิกขึ้นมา
               ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม งานศิลปะ การบันเทิง งานโฆษณา การศึกษา การวิจัย การฝึกอบรม และทางการแพทย์   


source:http://www.rayongwit.ac.th/graphicweb/page/unit2-1.html

บทบาทและความสำคัญ



งานกราฟิกสามารถสื่อความหมายระหว่างผู้ออกแบบกับผู้ชมได้โดยตรงเนื่องจากใช้ ภาพเป็นหลักในการสื่อสาร ทำให้เข้าใจได้ง่าย ถ้าผู้ออกแบบใส่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ งานกราฟิกชิ้นนั้นก็จะยิ่งมีความน่าสนใจ และมีคุณค่าทางด้านศิลปะอีกด้วย แต่ถ้าภาพที่ใช้สื่อความหมายไม่ชัดเจน ผู้รับก็ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง
บทบาท และ ความสำคัญของกราฟฟิก
               1. การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกราฟิกนี้เป็นงานที่ควบคู่ไปกับงานบริหาร เพราะเนื้อหาของ การประชาสัมพันธ์ที่ออกไปนั้น หากไมดูดความสนใจที่ดีแล้วย่อมไม่สามารถที่จะสื่อความหมายกันระหว่าผู้ชมกับฝ่ายองค์กรได้  
2. งานโทรทัศน์ กราฟิกจะเกี่ยวข้องในส่วนที่เป็นหัวเรื่อง(title)สไลด์ ฯลฯ งานจัดฉากละคร  เช่น การจัดฉากในรูปแบบต่าง ๆ การออกแบบตัวหนังสือ            
3. นิยมใช้ในงานหนังสือพิมพ์ เพราะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
4. งานออกแบบ หรือแบบร่าง เช่นออกแบบบ้าน        
6. งานพิมพ์หรือทำสำเนา ทำซิลค์สกรีน  การออกแบบหนังสือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่าง


ตัวอย่าง



ความหมายอนิเมชัน
แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช
คำว่า แอนิเมชั่น (animation) รวมทั้งคำว่า animate และ animator มากจากรากศัพท์ละติน “animare” ซึ่งมีความมหมายว่า
ทำให้มีชีวิต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจึงหมายถึงการสร้างสรรค์ลายเส้นและรูปทรงที่ไม่มีชีวิต ให้เคลื่อนไหวเกิดมีชีวิตขึ้นมาได้


ประเภทและรูปแบบของอนิเมชัน

ประเภทของ Animation 
งานแอนิเมชันมีพื้นฐานมาจาก Flip Book คือใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป ในแต่ละขณะของ
หุ่นจ าลองที่ค่อยๆขยับ เรียงต่อเนื่องกันไป ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของแอนิเมชันได้ดังนี้
1. Animation แบบดั่งเดิม หรือ Hand draw 2D Animation หรือ Traditional Animation
เป็นงานแอนิเมชันสมัยแรกเริ่ม มักจะใช้การวาดภาพด้วยมือลงในกระดาษทีละแผ่น แล้วใช้วิธี Flip 
เพื่อตรวจดูท่าทางของตัวละครที่ได้ท าการ animate ไปแล้ว หรือที่เราเรียกกันว่า In Between (IB)   
โดยทั่วไปแล้ว ในงาน Animation แบบนี้ ถ้าเป็นงาน Animation จากฝั่งตะวันตก หรือ เป็นหนังโรง 
จะก าหนดให้ 1 วินาที ใช้รูป 24 เฟรม แต่ถ้าเป็นพวกซีรี่ย์การ์ตูนญี่ปุุน จะก าหนดไว้ที่ 1 วินาที ใช้รูป 
12 เฟรม หรือ อาจมากกว่านั้น 
แบ่งเป็น 2  รูปแบบคือ
o Full Animation เป็นงานแอนิเมชันแบบเต็มรูปแบบ งานมีรายละเอียดประณีตสวยงาม  มี
ความสมจริงสูง ใช้ฉากและตัวละครที่มีรูปใกล้เคียงกับของจริง  ตัวอย่างแอนิเมชัน เช่น เรื่อง 
Spirited Away ของ Studio Ghibli 
o Limited Animation เป็นงานแอนิเมชันแบบลดทอนรายละเอียดของฉากและตัวละครลง
ไป เป็นลักษณะการ์ตูนแบบทั่วไป เช่น โดราเอม่อน  ทอม แอนด์ เจอร์รี่ มิกกี้เม้าส์ เป็นต้น
2. Animation แบบ Stop Motion การท างานแอนิเมชันประเภทนี้จะอาศัยการท างานของ 
Animator เป็นผู้จัดท าให้วัตถุเหล่านั้นมีการเคลื่อนไหวเองโดยตรงแล้วถ่ายภาพบันทึกไว้ทีละเฟรมไป
เรื่อยๆ จากนั้นจึงน าเอาภาพถ่ายเหล่านั้นมาเรียงล าดับต่อกันไปเรื่อยๆ ซึ่งผู้สร้างต้องสร้าง
ส่วนประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่นๆนอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ ซึ่งรูปแบบของสิ่ง
ที่จะน ามาท า Stop Motion ได้หลายเทคนิค ดังนี้
o เคลย์แอนิเมชัน - Clay Animation หรือบางครั้งเรียกว่า  Claymation ใช้หุ่นที่ท าจากดิน
น้ ามัน ดินเหนียว หรือขี้ผึ้งหรือวัสดุใกล้เคียง มีการท าใส่โครงลวดไว้ข้างใน แล้วน าวัสดุมาปั่น
ท าเป็นตัวละคร น ามาท าการดัดท่าทางให้เป็นเรื่องราวของงาน Animation
o คัตเอาท์แอนิเมชัน – Cutout Animation คือการน ากระดาษหรือผ้ามาตัดเป็นรูปร่าง
ต่างๆ และน ามาขยับเพื่อถ่ายภาพเก็บไว้ทีละเฟรม ซึ่งปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไป
ขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
o Object Animation ใช้วัตถุต่างๆ ในการสร้างเป็นงาน Animation เช่น หุ่นโมเดล  ตุ๊กตา 
งานกระดาษ  ภาพถ่าย ภาพวาด เป็นต้น
3.  Computer Animation / 2D Animation on computer / 3D Animation เป็นงาน
แอนิเมชัน ที่พบได้บ่อยในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการเข้าถึงโปรแกรมเป็นไปได้ง่าย และการน าหลักการ
แบบ 2D เข้ามาผสมผสานกับตัวโปรแกรม ท าให้เข้าใจได้ง่าย แถมยังสะดวกในการแก้ไข และ
แสดงผล จึงเป็นที่นิยมกันมาก

ตัวอย่าง