วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติอินเทอร์เน็ต



ประวัติอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร
              อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่าย เดียวกันทั้งโลก หรือทั้งจักรวาล
อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามา ในเครือข่าย
         อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
         อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายของเครือข่าย (A network of network)
สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมาย ของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
 


ประวัติความเป็นมา 
         - อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
         - ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง 

         และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่ง เข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
           - ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
           - การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูล ของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
            - DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
            - ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
               - ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ไอที (IT) กำลังได้รับ ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)จะเป็นตัวที่ทำให้ เกิดความรู้ วิธีการประมวลผล การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูล ตลอดจนการเรียกใช้ข้อมูล ด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิคส์ เมื่อเราให้ความสำคัญกับเ ทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการใช้งานไอที เครื่องมือนั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สื่อสารโทรคมนาคม อินเตอร์เน็ตนับว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือไอที เพราะเราสามารถที่จะใช้งาน หาข้อมูลข่าวสาร และเข้าถึงข้อมูล ได้ด้วยเวลาอันรวดเร็ว อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลเรื่องราวต่างๆ มากมาย ให้เราค้นหา ข่าวสารที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกเราสามารถที่จะทราบได้ทันที จึงนับได้ว่า อินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ทั้งในระดับองค์กรและในระดับบุคคล  

บริการที่ได้รับ 
(จากประสบการณ์ที่ได้ใช้บริการ ซึ่งคาดว่าเป็นบางส่วนของที่มีบริการอยู่ในปัจจุบัน)
[ Telnet | Electronic mail | Usenet news | FTP | WWW | Net2Phone | NetMeeting | ICQ | IRC | Game online | Software updating | Palm หรือ PocketPC | Wap ]

-----------------------------------------------------------------------
telnet 
• เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้สำหรับติดต่อกับเครื่อง Server ที่เป็น UNIX หรือ LINUX เพื่อใช้เข้าไปควบคุม การทำงานของเครื่อง หรือใช้อ่าน mail หรือใช้ปรับปรุง homepage หรือใช้เรียกโปรแกรมประมวลผลใด ๆ หรือใช้พัฒนาโปรแกรมและใช้งานในเครื่องนั้น เป็นต้น เพราะระบบ UNIX หรือ LINUX จะยอมให้ผู้ใช้สร้าง application ด้วย Compiler ภาษาต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ และเชื่อมต่อกับ Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Internet เริ่มต้นมาจากระบบ UNIX นี้เอง
• ประโยชน์อย่างหนึ่งที่ผู้ใช้โปรแกรม Telnet มักคุ้นเคย คือการใช้โปรแกรม PINE ซึ่งมีอยู่ใน Telnet สำหรับรับ-ส่ง mail และมีผู้ใช้อีกมากที่ไม่รู้ตัว ว่าตนเองกำลังใช้งาน UNIX อยู่ ทั้ง ๆ ที่ใช้ PINE ติดต่องานอยู่ทุกวัน เดิมที่ระบบ UNIX ไม่มีโปรแกรม PINE แต่มีนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย WASHINGTON University เพราะใช้ง่ายกว่าการใช้คำสั่ง mail ในการรับ-ส่งมาก
• แต่ผู้ใช้ที่ใช้ E-Mail กับเครื่อง UNIX หรือ LINUX ซึ่งใช้ตามมาตรฐาน IMAP มักเป็นกลุ่มนักศึกษา ในมหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยได้ให้บริการ E-Mail ซึ่งมีข้อจำกัดบางประการ และหลายมหาวิทยาลัย เช่นกันที่ทำฐานข้อมูล Mail ใน UNIX และให้บริการ Mail ผ่าน browser ได้ ซึ่งเป็นหลักการที่ผู้ให้บริการ mail ฟรีหลายแห่งใช้กันอยู่
• สำหรับโปรแกรม Telnet ผู้ต้องการใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องไป download เพราะเครื่องที่ทำการติดตั้ง TCP/IP จะติดตั้งโปรแกรม telnet.exe ไว้ในห้อง c:\windows เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้อยู่แล้ว แต่ ปัญหาหนักอยู่ที่วิธีการใช้ เพราะระบบ UNIX เป็นการทำงานใน Text mode เป็นหลัก การจะใช้คำสั่งต่าง ๆ ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้มาก่อน จึงจะใช้งานได้ในระดับที่พึ่งตนเองได้ มิเช่นนั้นก็จะเหมือน คนตาบอดเดินอยู่ กลางถนน หากใช้คำสั่งไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาทั้งกับตนเอง และระบบได้ภาพ mailtel.gif

--------------------------------------------------------------------------------
Electronic mail 
• บริการ E-Mail ฟรี เป็นบริการที่มีผู้ใช้กันมาก เพราะใช้สำหรับส่ง และอ่านข้อความ กับผู้ที่ต้องการติดต่อด้วย และใช้แทนจดหมายได้อย่างดี เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และผู้รับจะได้รับในเวลาเกือบทันทีที่ส่งไป ผู้ใหับริการ E-Mail ฟรีในปัจจุบัน เช่นของ hotmail หรือ yahoo mail หรือ ตามแต่ละประเทศ ที่คนในประเทศจะทำ Server ให้บริการ สำหรับกลุ่มที่มีความสนใจคล้าย ๆ กัน เช่น thaimail.com หรือ chaiyo.com ซึ่งเป็นของคนไทย และ mail ฟรีเหล่านี้จะให้บริการไปเรื่อย ๆ ไม่มีการหมดอายุ แต่จะหมดอายุถ้าผู้ใช้เกิดเลิกใช้เป็นเวลานานเกินไป สำหรับ E-Mail ของสถาบัน จะหมดอายุแน่นอน หลักจากที่สำเร็จการศึกษา จึงเป็นจุดบกพร่องข้อใหญ่ ที่ทำให้นักศึกษา หันไปใช้ E-Mail ฟรี มากกว่าที่สถาบัน จัดไว้ให้
• การใช้ E-Mail กับผู้ให้บริการฟรี เช่น thaimail.com, lampang.net, thaiall.com หรือ chaiyo.com นั้น ผู้ใช้จะต้องไป download โปรแกรม browser เช่น netscape หรือ Internet Explorer หรือ Opera หรือ NeoPlanet มาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อ Internet แล้วเปิดหน้าเว็บของแหล่งบริการ เพื่อใช้บริการ E-Mail ดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้จะต้องขอใช้บริการ และจะได้รับ userid และ password ประจำตัว เพื่อ login เข้าใช้บริการ E-Mail ทุกครั้ง
• ปัจจุบันการขอใช้บริการ E-Mail สามารถเลือกได้ที่จะใช้ web-based หรือ POP เพราะแต่ละแบบมีจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกัน โดย web-based จะเหมาะกับผู้ที่เดินทางเป็นประจำ ส่วน pop จะเหมาะกับผู้มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
• รายละเอียดเกี่ยวกับ e-mail อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiall.com/article/mail.htm

--------------------------------------------------------------------------------
USENET news หรือ News group 
• ในยุคแรกของ Internet บริการ USENET ได้มีผู้ใช้บริการ อย่างแพร่หลายอย่างมาก เพราะเป็นแหล่ง ที่ผู้ใช้ จะส่งคำถามเข้าไป และผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่พอจะตอบคำถามได้ จะช่วยตอบ ทำให้เกิดสังคมของ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร นอกจากการส่งข้อความเข้าไปใน USENET แล้ว ผู้ใช้ยังส่งแฟ้มในรูปแบบใด ๆ เข้าไปก็ได้ ซึ่งเรียกว่า Attach file หากแฟ้มที่ส่งเข้าไปเป็นภาพ gif หรือ jpg หรือแฟ้มที่มีการรองรับ ในระบบ internet ก็จะเปิดได้ทันทีด้วย browser หรือแล้วแต่โปรแกรมที่ใช้เปิด USENET นั้น
• แต่สำหรับประเทศไทย ผมสังเกตุว่า มีการเข้าไปใช้บริการในส่วนนี้ไม่มาก เพราะกลุ่มข่าว(News group) ที่ชื่อ soc.culture.thai ซึ่งเป็น 1 ในหลายหมื่นกลุ่มข่าว และมีชื่อที่เป็นไทยอย่างชัดเจน กลับมีคนต่างชาติ เข้าไปฝากข้อความไว้กว่าครึ่ง และมีคนไทยเพียงครึ่งเดียว ซึ่งเข้าใจว่าผู้ใช้ Internet ในประเทศไทยมักเน้นการใช้บริการ Internet 3 อย่างนี้ คือ Browser และ PIRC และ ICQ
• อีกเหตุผลหนึ่ง ที่คนไทยไม่ได้เข้าไปใช้บริการ USENET เท่าที่ควรก็เพราะ ในเว็บของคนไทยหลาย ๆ เว็บจะให้บริการที่ชื่อว่า wwwboard ผ่าน browser อยู่แล้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ USENET อย่างมาก ทำให้คนไทยหันมาใช้ wwwboard แทน USENET ซึ่งต้องติดตั้งข้อกำหนดเพิ่มเติมให้กับ browser ซึ่งอาจรู้สึกยุ่งยาก ไม่รู้ หรือไม่คุ้นเคยก็เป็นได้ และปัจจุบันบริการต่าง ๆ มักจะรวมมาไว้ใน browser อย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้ใช้มากมาย ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องไปใช้โปรแกรมอื่น เพราะทุกวันนี้ก็ใช้บริการ ที่อยู่ใน browser ไม่หมดแล้ว เช่น web, mail, chat, wwwboard, game, quiz, pager, news, postcard, shopping, download เป็นต้น
• ถ้าเครื่องท่านถูก setup ให้อ่าน news ได้ ท่านสามารถเข้าไปที่ soc.culture.thai เพื่ออ่าน หรือส่งข่าวสาร ต่าง ๆ ได้
--------------------------------------------------------------------------------

FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล) 
• บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windows
• การ download นั้นไม่ยาก หากผู้ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทำ รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ การศึกษาการส่งแฟ้มเข้าไปใน server อาจต้องหา บทเรียน ftp มาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการส่ง หรือหาอ่านได้จาก เว็บที่ให้บริการ upload แฟ้ม ซึ่งมักเขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว

--------------------------------------------------------------------------------
WWW
• World Wide Web คือบริการที่ให้ผู้ใช้ ใช้โปรแกรม Browser เช่น Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เป็นต้น ในการเปิดข้อมูลในลักษณะ Homepage ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ทำให้มีการแพร่หลาย และเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจ และเติบโตอย่างรวดเร็ว
• บริการผ่านเว็บนี้ ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อในลักษณะ Interactive ด้วยโปรแกรมสนับสนุนต่าง ๆ จนทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การดูภาพยนต์ ผ่านเว็บ, การเล่นเกมส์, การทำข้อสอบ, การส่ง mail, การส่ง pager, การติดต่อซื้อขาย, การส่ง postcard เป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------
Net2Phone 
• บริการนี้คือการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์จริง ๆ และได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ที่ถูกกว่า และยังมีบริการ Net2Fax ซึ่งให้บริการ Fax เอกสาร
จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่อง Fax จริง ๆ ซึ่งมีอัตราค่าบริการที่ถูกกว่าเช่นกัน
• บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้ง และจะต้องจ่ายเงินก่อน ซึ่งเป็นการซื้อเวลาล่วงหน้า เมื่อมีการใช้บริการ จึงจะหักค่าใช้บริการจากที่ซื้อไว้

--------------------------------------------------------------------------------

Netmeeting 
• เป็นโปรแกรมที่มีชื่อมาก เพราะทำให้คนจากซีกโลกหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกซีกโลก ด้วยเสียงจาก คอมพิวเตอร์ ซึ่งคล้ายโทรศัพท์ แต่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่อย่างใด และโปรแกรมในลักษณะนี้ ยังเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับ เครื่องรับภาพ digital ดังนั้นคนที่มีโปรแกรมนี้จะคุยกันและ เห็นภาพของแต่ละฝ่าย จึงทำให้การติดต่อมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม
• บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญในการติดต่อแบบนี้คือเรื่อง ของความเร็ว เพราะการติดต่อด้วยเสียง อาจได้เสียงที่ไม่ชัดเจน หรืออาจขาดหายระหว่างการสนทนา หากความเร็วในการเชื่อมต่อ internet ไม่เร็วพอ และจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าจะเพิ่มการรับ-ส่งภาพ แบบ VDO สำหรับเครื่องที่เชื่อมต่อด้วยความเร็วต่ำ

--------------------------------------------------------------------------------

ICQ 
• บริการนี้เป็น บริการที่เยี่ยมมาก และได้รับความนิยม เพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะผู้ที่มีคอมพิวเตอร์ เป็นของตนเอง และมีโปรแกรม ICQ อยู่ในเครื่อง จะสามารถติดต่อกับเพื่อน ที่ใช้โปรแกรม ICQ อยู่ได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำการตรวจสอบไว้ ว่า Online อยู่หรือไม่ เปรียบเสมือนการมี pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว
• ได้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเสริมอีกมากมาย ให้ ICQ สามารถทำงานได้หลายหลายมากขึ้น และยิ่ง แพร่กระจายได้เร็ว ในกลุ่มหนุ่มสาว ที่ต้องการเพิ่ม เพราะจะแสดงสถานะของ เครื่องเพื่อน เมื่อเปิด คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถติดต่อได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องโทรไปถามบ่อย ๆ ว่าเปิดคอมพิวเตอร์หรือยัง เป็นต้น
• บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง และเป็นโปรแกรมที่ download ได้ฟรี

--------------------------------------------------------------------------------

IRC : Internet Relay Chat 
• บริการนี้คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC เพราะทำให้สามารถคุยกับใครก็ได้ที่ใช้ โปรแกรม PIRC การคุยกันจะใช้ผ่านแป้นพิมพ์เป็นสำคัญ โดยไม่ต้องเห็นหน้า หรือรับผิดชอบต่อสิ่ง ที่พิมพ์ออกไป อย่างจริงจัง เพราะไม่มีการควบคุมจากศูนย์ที่ชัดเจน ทำให้ทุกคนมีอิสระที่จะคิดจะส่ง ข้อมูลออกไป ได้ทุกชาติ ทุกภาษา
• ใน IRC ใด ๆ มักจะมีการแบ่งเป็นห้อง ๆ โดยมีชื่อห้องบอกว่า ในห้องนั้นจะคุยกันเรื่องอะไร เช่น "วิธีแก้เหงา" หากใครต้องการคุยถึงวิธีแก้เหงา เข้าไปในห้องนั้น หรือหลาย ๆ ห้องได้ และแสดงความเห็น อะไรออกไปก็ได้ และยังสามารถเลือกคุยกับใครเป็นการส่วนตัว หรือจะคุยให้ทุกคน ที่เปิดหัวข้อนี้ รับทราบก็ได้ เมื่อคุยกันถูกคอก็สามารถ ที่จะนัดพบกันตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อนสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือจะนัดคุยกันในคอมพิวเตอร์ ในครั้งต่อไป ในห้องที่กำหนดขึ้นก็ได้ จึงทำให้ทุกเพศทุกวัยชื่นชอบ ที่จะใช้บริการนี้อย่างมาก
• บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง และเป็น Shareware หากผู้ใช้พอใจ สามารถที่จะ ลงทะเบียนเพื่อจ่ายเงิน $20 ได้ 

--------------------------------------------------------------------------------
Game online 
• เกมกลยุทธหลาย ๆ เกมที่ โปรแกรมจะจำลองสถานการณ์การรบ ทำให้ผู้ใช้สามารถต่อสู้กับ คอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์คิดเอง และสู้กับเราได้ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องของเกมที่ไม่สามารถสร้าง ความมันส์ เหมือนกับการสู้กับคนที่คิด และพูดกับอีกฝ่ายได้ จึงได้มีการสร้างเกม และบริการที่ทำ ให้ผู้ใช ้ ้ต่อสู้กัน โดยให้ผู้ใช้ติดต่อเข้าไปในเครื่องบริการ แล้วเสียเงินลงทะเบียน จากนั้นจะสามารถขอเข้าไป เล่นเกมกับใครก็ได้ในโลก ที่เสียเงินเช่นกัน และพูดคุยกันผ่านแป้นพิมพ์ เป็นการทำ ความรู้จักกัน ในขณะเล่นเกมได้อีกด้วย ซึ่งเป็นบริการที่กำลังเติมโต อย่างรวดเร็วอีกบริการหนึ่ง ในโลก Internet

--------------------------------------------------------------------------------
Software Updating 
• มีโปรแกรมมากมายที่ใช้ประโยชน์จาก Internet และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการปรับปรุงโปรแกรม แบบ Online เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส ที่มีชื่อเสียง เกือบทุกโปรแกรม จะยอมให้ผู้ใช้สามารถปรับปรุงข้อมูลใหม่ เพื่อใช้สำหรับเตรียมต่อสู้กับไวรัส ที่มาใหม่เสมอ ผู้ใช้เพียงแต่เลือก Click บนปุ่ม Update จากนั้น โปรแกรมจะทำทุกอย่างใหม่หมด จนกระทั่งการ update สมบูรณ์ หรือแม้แต่ Microsoft Windows ที่ยอมให้ผู้ใช้สามารถ Update โปรแกรมที่ตนขายไปแล้ว แต่มาพบข้อผิดพลาดทีหลัง หลังจากแก้ไข จะยอมให้ผู้ใช้ Update โปรแกรมได้ฟรี เพราะถือเป็นความผิดพลาดที่ต้องรับผิดชอบ เป็นต้น 

--------------------------------------------------------------------------------
Palm หรือ PocketPC 
• Palm หรือ PocketPC นั้นต่างก็เป็น Organizer ยุคใหม่มีอีกชื่อหนึ่งว่า PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งถูกตั้งชื่อโดย Apple ตั้งแต่ปี 1990 แต่สมัยนั้นยังไม่สำเร็จ จึงมีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
• คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีความสามารถสูงมาก เพราะสามารถพัฒนาโปรแกรม สั่งให้ palm ทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ทำให้ความสามารถหลักด้าน organizer กลายเป็นส่วนประกอบไปเลย เพราะมีผู้พัฒนาโปรแกรมให้กับ palm มากทีเดียว คนไทยก็ทำครับ เพื่อให้ palm เข้าใจภาษาไทย และใช้ปากกาเขียนภาษาไทยให้ palm อ่านรู้เรื่องได้ทันที
• Palm สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยผู้ใช้ palm สามารถเขียน mail ใน palm เพื่อต้องการส่งก็ upload เข้าคอมพิวเตอร์ที่ online กับ internet แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทำหน้าที่ส่ง mail ให้อัตโนมัติ รวมถึงการรับ mail ใหม่เข้าไปใน palm ทำให้สามารถอ่าน mail จากที่ไหนก็ได้ แต่เป็นการทำงานแบบ offline นะครับ ไม่เหมือนมือถือที่อ่าน mail ได้แบบ online แต่ palm ไม่ใช่มือถือครับ
ภาพทั้งหมดเกี่ยวกับ palm ได้มาจาก http://www.palm.com

--------------------------------------------------------------------------------
PocketPC คืออะไร 
คือ ผลจากที่ปี 1998 Microsoft แนะนำ WindowCE ซึ่งทำงานกับ Palm-sized PC ซึ่งพยายามตี palm ให้แตก ด้วยการสร้างระบบปฏิบัติการ ที่เป็นมาตรฐานใหม่ บริษัทต่าง ๆ ที่สนใจจึงเริ่มผลิตสินค้า ที่ใช้ Windows CE โดยมีชื่อเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า PocketPC คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่กำหนดมาตรฐานโดย Microsoft เจ้าเก่า(งานนี้ palm อาจต้องหนาว) ทำให้ PocketPC ที่ผลิดโดยบริษัทใดก็แล้วแต่ เช่น Compaq, Casio, HP เป็นต้น สามารถเปิดเว็บ พิมพ์ Word หรือ Excel ฟัง MP3 หรือแม้แต่ดูหนัง ก็ยังได้
กองทัพอุปกรณ์เทคโนโลยี จาก casio.com นำทัพโดย PocketPC ที่จะมาโค่น palm

--------------------------------------------------------------------------------

WAP 
• Wireless Application Protocal เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บที่ถูกเขียนมาเพื่อ โทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะได้ เว็บของไทยที่ให้บริการแล้ว เช่น http://wap.wopwap.com, http://wap.siam2you.com, http://wap.a-roi.com, http://wap.mweb.co.th เป็นต้น
• โทรศัพท์ที่ออกมาให้บริการแล้ว เช่น Nokia7110, Nokia9110i, EricssonR320, EricssonA2618, Alcatel OneTouch View WAP หรือ 300 family หรือ 500 family หรือ 700 family, MotorolaV8088 เป็นต้น
• เว็บที่มีข้อมูลเรื่อง wap เช่น wapinsight.com, wap-uk.com, waphq.com, wapjag.com, yourwap.com, waptastic.com เป็นต้น

WAP ย่อมาจากคำว่า Wireless Application Protocal เป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้โทรศัพท์มือถือ หน้าจอเล็กๆ ของคุณสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้โดยตรง ทำให้คุณสามารถ ทำอะไรได้หลากหลายเสมือนกับคุณใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Browser เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การค้นหาสืบค้นข้อมูล หรือการใช้บริการต่างๆ ของ WAP Site และที่สำคัญที่สุดคือ คุณสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ทุกที่ทุกเวลาตราบใดที่ยังมีสัญญาณมือถือ หรือสัญญาณ GPRS อยู่นั่นเอง

Credit : ข้อมูลจาก http://school.obec.go.th/borkruwitt/inter/internet_h.htm
                     ข้อมูลจาก http://www.nectec.or.th/courseware/internet/internet-tech/0001.html
                     ข้อมูลจาก http://www.computers.co.th/blog/?p=6

ความรู้เบื้องต้นเรื่องระบบชื่อโดเมน


ความรู้เบื้องต้นเรื่องระบบชื่อโดเมน


ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System) หรือ ดีเอ็นเอส (DNS)  เป็นระบบการตั้งชื่อให้กับ "ทรัพยากรเครือข่าย” แต่ที่พบโดยทั่วไปคือการตั้งชื่อโฮสต์เพื่อใช้แทนไอพีแอดเดรส ดีเอ็นเอสเป็นระบบชื่อที่มีฐานข้อมูลแบบกระจาย โดยไม่มีหน่วยงานหรือสถาบันใดควบคุมหรือมีฐานข้อมูลเดี่ยวครอบคลุมทั้งอินเทอร์เน็ต แต่ละเครือข่ายในอินเทอร์เน็ตจะมีดีเอ็นเอสเซอร์ฟเวอร์เก็บรักษาฐานข้อมูลและบริหารข้อมูลอย่างอิสระ เพื่อให้ไคลเอ็นต์ขอบริการสอบถามข้อมูลตามแบบโปรโตคอลที่กำหนด ดีเอ็นเอสจึงเป็นทั้งระบบการตั้งชื่อและโปรโตคอลรวมอยู่ด้วยกัน
การติดต่อกับผู้ใช้งานประจำเครื่องใดๆ เช่นการส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลอาจใช้ไอพีแอดเดรสระบุถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางได้เช่น somchai@176.16.0.1 หรือใช้เบราเซอร์เปิดอ่านเว็บเพจโดยใช้ http://192.0.34.65 แต่การใช้ไอพีแอดเดรสดังตัวอย่างที่กล่าวมานั้นไม่อำนวยสะดวกต่อการจดจำ ในอินเทอร์เน็ตจึงใช้วิธีตั้งชื่อให้กับเครื่องเพื่อให้ผู้ใช้จดจำได้ง่ายกว่าตัวอย่างเช่นอีเมลแอดเดรสข้างต้นอาจเขียนแทนด้วย somchai@ku.ac.th หรือการเปิดอ่านเว็บเพจโดยใช้ http://www.isoc.org
เมื่อใช้ชื่อแทนไอพีแอดเดรสสำหรับเรียกใช้บริการหนึ่งๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับบริการนั้นจะใช้กลไกของระบบเพื่อแปลงชื่อไปเป็นไอพีแอดเดรส และนำไอพีแอดเดรสนั้นติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางต่อไป
การใช้งานในยุคต้น
ในยุคแรกเริ่มของการใช้ชื่อทดแทนแอดเดรส ระบบฐานข้อมูลซึ่งเก็บชื่อเครื่องที่สมนัยกับไอพีแอดเดรสเป็นฐานข้อมูลเดี่ยว ฐานข้อมูลนี้ดูแลโดยศูนย์สารสนเทศเครือข่ายสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (Stanford Research Institute's Network Information Center หรือ SRI-NIC) เครือข่ายใดที่ต้องการใช้ฐานข้อมูลจะต้องใช้โปรโตคอลถ่ายโอนแฟ้ม หรือ เอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocol) เพื่อนำรายชื่อและแอดเดรสไปใช้งาน ฐานข้อมูลกลางจะปรับปรุงใหม่อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้แต่ละเครือข่ายถ่ายโอนข้อมูลล่าสุดไปใช้ รูปแบบเช่นนี้เป็นวิธีปฏิบัติที่ไม่เป็นปัญหาในยุคต้นเนื่องจากจำนวนเครือข่ายและคอมพิวเตอร์จำกัดอยู่ในหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา แต่เมื่อจำนวนเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น กระบวนการถ่ายโอนเริ่มพบปัญหาอุปสรรคได้แก่
  • การปรับปรุงฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ไม่ตอบสนองกับอัตราการเพิ่มของคอมพิวเตอร์ได้อย่างทันท่วงที
  • ฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่มากขึ้น การถ่ายโอนใช้เวลาและใช้ช่องสัญญาณมากทำให้กระทบต่อการใช้งานอื่น
  • ฐานข้อมูลเดิมเก็บชื่อเป็นระดับเดียวกัน ทำให้เกิดปัญหาการจัดการเมื่อมีผู้ขอตั้งชื่อเหมือนกัน
ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวคิดในการปรับปรุงระบบให้บริการชื่อเครื่องใหม่ ระบบการแปลงชื่อปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบอัตโนมัติที่ใช้วิธีการกระจายฐานข้อมูล มีโปรโตคอลสำหรับเชื่อมต่อฐานข้อมูลนั้นและปรับปรุงข้อมูลโดยอัตโนมัติ รูปแบบการตั้งชื่อมีโครงสร้างแบบลำดับชั้นป้องกันการตั้งชื่อซ้ำซ้อน ระบบดังกล่าวนี้อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของโปรโตคอล ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name System) หรือเรียกว่า ระบบชื่อโดเมน
ระบบชื่อโดเมนเป็นบริการที่มีความสำคัญอย่างมากในอินเทอร์เน็ต หากระบบชื่อโดเมนไม่สามารถให้บริการได้อาจกล่าวได้ว่าบริการอื่นในอินเทอร์เน็ตจะหยุดชะงักลง ระบบชื่อโดเมนมีฐานข้อมูลแบบกระจายโดยไม่มีหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดควบคุมฐานข้อมูลเดี่ยวทั้งหมด แต่ละเครือข่ายจะมีเซิร์ฟเวอร์เก็บรักษาฐานข้อมูลและบริหารข้อมูลอย่างอิสระ แต่ละเซิร์ฟเวอร์จะสื่อสารกันด้วยโปรโตคอลดีเอ็นเอสและให้ไคลเอ็นต์ในอินเทอร์เน็ตขอบริการสอบถามข้อมูล ดีเอ็นเอสจึงเป็นทั้งระบบการตั้งชื่อและโปรโตคอลรวมอยู่ด้วยกัน
รูปแบบการเขียน
การเขียนชื่อคอมพิวเตอร์ประจำโดเมนใดๆจะเริ่มต้นจากชื่อเครื่องตามด้วยชื่อโดเมนย่อยที่คั่นด้วยจุดและปิดท้ายด้วยจุดซึ่งแสดงถึงจุดบนสุดหรือเรียกว่า ราก  (root)
เครื่องหมายจุดเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ระบุว่าชื่อได้สิ้นสุดโดยไม่มีชื่อต่อท้ายอีก และเรียกชื่อชื่อนั้นว่าเป็นชื่อสัมบูรณ์ (absolute name) ทั้งนี้เพื่อป้องกันความสับสนกับชื่อที่เขียนแบบสัมพัทธ์ ตัวอย่างเช่นชื่อ www.moe.go.th. มีความหมายดังต่อไปนี้
  • www           ชื่อเครื่อง (host name)
  • moe             ชื่อโดเมนกระทรวงศึกษาธิการ
  • go               ชื่อโดเมนในหมวดหน่วยงานราชการ
  • th                ชื่อโดเมนสัญชาติไทย
  • .                  สัญลักษณ์แทนราก
รูปแบบการเขียนชื่อคอมพิวเตอร์ที่ระบุทั้งชื่อเครื่องและชื่อโดเมนที่สังกัดเต็มรูปแบบโดยปิดท้ายด้วยเครื่องหมายจุดเป็นรูปแบบการเขียนที่สมบูรณ์ และเรียกชื่อที่เขียนในลักษณะนี้ว่า FQDN (Fully Qualified Domain Name)
ประโยชน์จากการใช้ชื่อตามโครงสร้างแบบนี้คือทำให้ชื่อในโดเมนหนึ่งจะมีได้เพียงชื่อเดียวโดยไม่ซ้ำซ้อนกันไม่ว่าอินเทอร์เน็ตจะมีขนาดใหญ่เพียงใดหรือมีจำนวนโดเมนย่อยเท่าใด เพราะเครื่องที่อยู่ต่างโดเมนถึงแม้จะมีชื่อเครื่องหรือชื่อโดเมนย่อยเหมือนกัน หากแต่การสังกัดอยู่ในชื่อโดเมนระดับบนที่ต่างกันย่อมมี FQDN ที่แตกต่างกันและถือว่ามีชื่อต่างกัน ตัวอย่างเช่น www.name.co.th ถือว่ามีชื่อโดเมนต่างจาก www.name.com ในอีกแง่มุมหนึ่งแล้วประโยชน์ของชื่อโดเมนแบบโครงสร้างคือช่วยให้สามารถตั้งชื่อเครื่องได้หลากหลายในหมวดชื่อโดเมนต่างๆ
ระบบชื่อโดเมนในอินเทอร์เน็ตมีการจัดแบ่งตามโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical) และใช้ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed) ระบบฐานข้อมูลแบบกระจายช่วยให้บริการชื่อโดเมนใน องค์กรใดๆที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบชื่อโดเมนไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาสำเนาข้อมูลชื่อโดเมนที่มีอยู่ทั้งหมด หากแต่ระบบสามารถเชื่อมถึงกันทางเครือข่ายเพื่อสืบค้นและแลกเปลี่ยนข้อมูลรวมทั้งใช้ฐานข้อมูลร่วมกันโดยอัตโนมัติ โครงสร้างตามลำดับชั้นของระบบชื่อโดเมนเปรียบเทียบได้กับการแบ่งองค์กรเช่นภายในบริษัทอาจแบ่งออกเป็นแผนกย่อย แต่ละแผนกอาจแบ่งย่อยเป็นฝ่าย หรืออาจเปรียบเทียบกับการแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ออกเป็นประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล เป็นต้น
อินเทอร์เน็ตดีเอ็นเอสมีโครงสร้างตามลำดับชั้นแบบโครงสร้างต้นไม้กลับหัวดังรูปที่ 1 โครงสร้างอยู่ภายใต้ต้นไม้รากเดี่ยวและแตกกิ่งก้านมาเป็นลำดับ ส่วนปลายสุดเป็นจุดที่ไม่สามารถแตกกิ่งออกไปได้อีกจะเป็นชื่อเครื่อง ตัวอย่างเช่น tpt.nectec.or.th หมายถึงเครื่อง tpt ของโดเมน nectec.or.th หรือ cc.usu.edu คือเครื่อง cc ของโดเมน usu.edu
โครงสร้างต้นไม้ทั้งโครงสร้างเรียกโดยทั่วไปว่า โดเมนเนมสเปซ (domain name space) หรือเรียกสั้นๆว่า เนมสเปซ หรือหากต้องการกล่าวเจาะจงถึงอินเทอร์เน็ตก็เรียกว่า อินเทอร์เน็ตเนมสเปซ หากพิจารณารูปที่ 1 อินเทอร์เน็ตเนมสเปซมี 3 กลุ่มใหญ่ ความหมายของแต่ละกลุ่มจะกล่าวโดยละเอียดภายหลัง

รูปที่ 1 โครงสร้างลำดับชั้นของดีเอ็นเอส
ชื่อโดเมน
แต่ละโหนดในเนมสเปซมีชื่อกำกับเพื่อใช้เรียกยกเว้น ราก (root)  ซึ่งอยู่บนสุดไม่ต้องมีชื่อกำกับ โหนดหนึ่งๆอาจแตกออกเป็นโหนดย่อยระดับล่างลงไปได้หลายชั้น ชื่อโดเมน (domain name) คือชื่อที่กำกับประจำโหนดและเรียกชื่อโดยไล่ลำดับจากโหนดนั้นตามเส้นทางขึ้นไปยังราก   ในโดเมนหนึ่งหนึ่งอาจมี โดเมนย่อย (sub domain) ลงไปได้หลายระดับชั้น เช่น ac.th หรือ or.th เรียกได้ว่าเป็นโดเมนย่อยของโดเมน .th หรือหากพิจารณาในระดับองค์กรเช่นตัวอย่างในรูปที่ 2 แสดงถึงโดเมนย่อยของ ku.ac.th ซึ่งได้แก่ agr.ku.ac.th, eng.ku.ac.th และ sci.ku.ac.th รวมทั้งโดเมนย่อยของ exam.com ได้แก่ engr.exam.com และ sales.exam.com


รูปที่ 2 โดเมนย่อย
จำนวนโดเมนย่อยหรือระดับชั้นในโดเมนหนึ่งๆขึ้นอยู่กับผู้ดูแลระบบจะกำหนด จำนวนระดับชั้นของชื่อโดเมนไม่มีความสัมพันธ์กับไอพีแอดเดรสแต่อย่างใด ชื่อโดเมนทางซ้ายจะบ่งบอกชื่อเครื่องที่เจาะจงมากขึ้น  ชื่อโดเมนทางขวาจึงบ่งถึงโดเมนที่ใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ลักษณะนี้ต่างจากไอพีแอดเดรสที่ตัวเลขทางขวาบ่งบอกโฮสต์ที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าทางซ้าย ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นชื่อโดเมนที่มีจำนวนโดเมนย่อยแตกต่างกัน
  • www.ee.eng.chula.ac.th       เครื่อง www ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาฯ
  • www.tu-muenchen.de          เครื่อง www ที่มหาวิทยาลัยมิวนิค ประเทศเยอรมัน
  • ftp.mci.com                         เครื่อง ftp ของบริษัท MCI
  • hp.com                               เครื่อง hp ของบริษัทฮิวเล็ต-แพคการ์ต
โดเมนสัมบูรณ์และโดเมนสัมพัทธ์
ชื่อโดเมนที่เขียนตามเส้นทางจากโหนดหนึ่งๆไปสิ้นสุดที่ราก เรียกว่า ชื่อโดเมนสัมบูรณ์ (Absolute domain name) ชื่อโดเมนที่เขียนเพียงบางส่วนเรียกว่า ชื่อโดเมนสัมพัทธ์   (Relative domain name)
ชื่อโดเมนสัมบูรณ์โดยปกติแล้วจะปิดท้ายด้วยจุดเพื่อแสดงว่าสิ้นสุดที่ราก และเพื่อให้แยกแยะความแตกต่างจากโดเมนสัมพัทธ์ได้ เช่น tpt.nectec.or.th. แต่ในทางปฏิบัติมักละเครื่องหมายจุดไว้เพราะชื่อโดเมนมักแสดงถึงโดเมนสัมบูรณ์อยู่ในตัวเอง บางโปรแกรมประยุกต์เช่นโปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้จุดปิดท้ายโดเมนแม้ว่าจะใช้ชื่อนั้นในฐานะของโดเมนสัมบูรณ์ก็ตาม
ดีเอ็นเอสมีชื่อโดเมนสัมพัทธ์เพื่อความสะดวกในการอ้างอิง ดีเอ็นเอสถือว่าชื่อโดเมนที่ไม่ลงท้ายด้วยจุดคือโดเมนสัมพัทธ์และจะสร้างชื่อโดเมนสัมบูรณ์ให้ เช่นผู้ใช้อาจพิมพ์เพียง tpt และให้ดีเอ็นเอสเติมชื่อโดเมน nectec.or.th. ต่อท้าย ก่อนดำเนินการเช่นนี้ได้ดีเอ็นเอสจำเป็นต้องทราบถึงชื่อโดเมนประจำเครือข่ายก่อน วิธีการกำหนดชื่อโดเมนประจำเครือข่ายจะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ ตัวอย่างเช่นในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์กำหนดชื่อโดเมนประจำเครือข่ายและข้อมูลอื่นไว้ในแฟ้ม /etc/resolv.conf
โดเมนระดับบนสุด (Top-Level Domains) หรือเขียนย่อว่า TLDs หมายถึงชื่อโดเมนที่ระบุถึงกลุ่มโดเมนระดับบน กลุ่มโดเมนเหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้สังกัดใด โดเมนระดับบนสุดในปัจจุบันจัดแบ่งออกเป็นสามประเภทใหญ่ (ดูรูปที่ 1) คือ
  • โดเมนทั่วไป (generic domain) เป็นชื่อโดเมนที่จัดตามกลุ่มองค์กร
  • โดเมนรหัสประเทศ (country code domain)  ชื่อโดเมนจากรหัสประเทศ
  • โดเมนอาร์พา ชื่อโดเมนสำหรับใช้แปลงไอพีแอดเดรสไปหาชื่อเครื่อง
โดเมนทั่วไป
โดเมนประเภทนี้เป็นชื่อโดเมนระดับบนสุดและมักเรียกว่าโดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไป (Generic Top Level Domains : gTLDs) ชื่อโดเมนประเภทนี้เป็นกลุ่มโดเมนขององค์กร ซึ่งในระยะแรกเริ่มมี 7 หมวดได้แก่ .com, .edu, .gov, .int, .mil, .net และ .org ความหมายและตัวอย่างของแต่ละชื่อโดเมนแสดงได้ดังตารางที่ 1
โดเมนทั้ง 7 หมวดนี้มีขอบเขตการใช้งานแตกต่างกัน โดยโดเมน .gov และ .mil จำกัดการใช้อยู่เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากเป็นประเทศต้นกำเนิดของอินเทอร์เน็ต l ส่วนชื่อโดเมนอื่นอนุญาตให้ใช้โดยไม่จำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวด   .com, .net และ .org  มีผู้นิยมจดทะเบียนอย่างแพร่หลายทั่วโลก สำหรับการจดทะเบียนชื่อโดเมน .edu ส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา [1] ส่วนชื่อโดเมน .int จดทะเบียนได้เฉพาะหน่วยงานภายใต้สนธิสัญญาหรือมีพันธกิจนานาชาติเท่านั้น
ตารางที่ 1 โดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไปดั้งเดิมในอินเทอร์เน็ต
โดเมน
กลุ่ม
ตัวอย่าง
.com
องค์กรธุรกิจการค้า (Commercial organizations)
sun.com, microsoft.com
.edu
สถาบันการศึกษา [2] (Educational organizations)
mit.edu, standford.edu
.gov
หน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐ (Government organizations)
nasa.gov, doc.gov
.int
องค์กรนานาชาติ (International organizations)
nato.int, sadc.int
.mil
หน่วยงานทางทหารของสหรัฐ (Military organizations)
army.mil, navy.mil
.net
หน่วยงานเครือข่าย (Networking organizations)
nyser.net, sura.net
.org
องค์กรจัดตั้ง (Organizations) เช่นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร หรือหน่วยงานที่ไม่เข้ากลุ่มอื่น
mitre.org, acm.org
 
โดเมน
กลุ่ม
ตัวอย่าง
.aero
การอากาศยาน
ชื่อโดเมนเฉพาะองค์กรด้านการขนส่งทางอากาศยาน โดยสมาคมการขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ หรือSociete Internationale de Telecommunications Aeronautiques (SITA) เป็นผู้บริหารนโยบาย
.biz
องค์กรธุรกิจ
ชื่อโดเมนสำหรับการธุรกิจ แต่ต่างจาก .com ในแง่ที่ผู้จดทะเบียนต้องประกอบการธุรกิจจดทะเบียนเท่านั้น โดเมนนี้จึงไม่อนุญาตให้จดทะเบียนโดยบุคคลหรือองค์กรที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจ
.coop
สหกรณ์
ชื่อโดเมนเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการสหกรณ์ โดยสหพันธ์สหกรณ์นานาชาติ หรือ International Cooperative Alliance (ICA) เป็นผู้บริหารนโยบาย
.info
ข้อมูลข่าวสาร
ชื่อโดเมนสำหรับจดทะเบียนทั่วไป ถึงแม้ว่าชื่อโดเมนจะสื่อถึง บริการข้อมูลข่าวสาร” แต่ในทางปฏิบัติแล้วจะเปิดให้จดทะเบียนโดยไม่มีข้อจำกัด ทั้งนี้เพื่อเป็นการแข่งขันกับโดเมนในกลุ่ม .com, .net และ.org
.museum
พิพิธภัณฑ์
ชื่อโดเมนสำหรับพิพิธภัณฑ์ การจดทะเบียนจะอนุญาตเฉพาะพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของสภาพิพิธภัณฑ์นานาชาติ หรือ International Council of Museums (ICOM)
.name
บุคคล

ชื่อโดเมนสำหรับบุคคลทั่วไป การจดทะเบียนจะต้องจดชื่อระดับที่สามในรูปแบบ firstname.lastnameตัวอย่างเช่น john.smith.name การจดทะเบียนจะไม่มีการครอบครองชื่อโดเมนระดับที่สอง และให้บริการจดทะเบียนตามลำดับการร้องขอ
.pro
ผู้ประกอบ
วิชาชีพ
ชื่อโดเมนผู้ประกอบวิชาชีพ (professionals) เช่น แพทย์ วิศวกร ทนายความ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคว่าผู้จดทะเบียนอยู่ในสายวิชาชีพนั้นอย่างแท้จริง นโยบายการบริหารชื่อโดเมนจะดำเนินการโดยสมาคมหรือสหพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ

 
โดเมน
ชื่อประเทศ
โดเมน
ชื่อประเทศ
.at
ออสเตรีย
.es
สเปน
.au
ออสเตรเลีย
.fr
ฝรั่งเศส
.ca
แคนาดา
.jp
ญี่ปุ่น
.ch
สวิตเซอร์แลนด์
.kr
เกาหลี
.de
เยอรมัน
.uk
สหราชอาณาจักร
 
ชื่อ
ไอพีแอดเดรส
a.root-servers.net
198.41.0.4
b.root-servers.net
128.9.0.107
c.root-servers.net
192.230.4.12
d.root-servers.net
128.8.10.90
e.root-servers.net
192.203.230.10
f.root-servers.net.
192.5.5.241
g.root-servers.net
192.112.36.4
h.root-servers.net
128.63.2.53
i.root-servers.net
192.36.148.17
j.root-servers.net
192.58.128.30
k.root-servers.net
193.0.14.129
l.root-servers.net
198.32.64.12
m.root-servers.net
202.12.27.33

จากความต้องการใช้ชื่อโดเมนที่มีเพิ่มมากขึ้น เมื่อเดือนกันยายน 2543 ไอแคนซึ่งเป็นองค์กรบริหารระบบชื่อโดเมนในอินเทอร์เน็ตได้ประกาศใช้ชื่อโดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไปใหม่อีก 7 หมวด ได้แก่ .aero, .biz, .coop, .info, .museum,  .name และ .pro  รายละเอียดการใช้แต่ละชื่อโดเมนแสดงไว้ในตารางที่ 2 
ตารางที่  2 ชื่อโดเมนระดับบนสุดใหม่ที่ไอแคนประกาศเพิ่ม
โดเมนรหัสประเทศ
ชื่อโดเมนในกลุ่มนี้จะใช้รหัสประเทศที่ประกอบด้วยอักขระสองตัวตามมาตรฐาน ISO 3166-1 เช่น .jp, .br, .au หรือ .ca เป็นต้น ชื่อโดเมนประเภทนี้จึงเรียกว่า ชื่อโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (Country Code Top Level Domains) หรือเขียนโดยย่อว่า ccTLDs  ในปัจจุบันมี ccTLDs รวมทั้งสิ้น 244 ชื่อ ในจำนวนนี้มีเพียงสหราชอาณาจักรที่มิได้ใช้ชื่อย่อตามมาตรฐาน ISO 3166-1 กล่าวคือในมาตรฐาน ISO 3166-1 ใช้ gb แต่ชื่อโดเมนที่ใช้คือ .uk [3] ตารางที่ 3 แสดงตัวอย่างชื่อโดเมนระดับบนสุดประจำประเทศ
ตารางที่ 3 ตัวอย่างชื่อโดเมนประจำประเทศ
ชื่อโดเมนหนึ่งๆไม่ได้มีส่วนสัมพันธ์กับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของคอมพิวเตอร์ ชื่อโดเมนระดับบนสุดเช่น .th ถึงแม้จะบ่งบอกถึงประเทศไทย แต่เครื่องที่ใช้ชื่อโดเมน .th อาจตั้งอยู่ในประเทศใดๆก็ได้ นอกจากนี้เครื่องหนึ่งๆยังสามารถจดทะเบียนได้มากกว่าหนึ่งชื่อ ชื่อโดเมนจึงบอกเพียงว่าเครื่องนั้นจดทะเบียนในสังกัดของชื่อโดเมนที่ระบุเท่านั้น
โดเมนอาร์พา
โปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมต้องการตรวจสอบว่าไอพีที่ใช้งานมีชื่อใดหรือผู้ใช้อาจต้องการทราบชื่อโฮสต์จากไอพีแอดเดรสที่มีอยู่ การแปลงไอพีแอดเดรสกลับไปเป็นชื่อจึงเป็นอีกบริการหนึ่งที่ดีเอ็นเอสต้องจัดเตรียมไว้
ในเนมสเปซที่ได้ศึกษามาตั้งแต่ต้น เราทราบว่าแต่ละโหนดมีชื่อกำกับเพื่อใช้ค้นหาไอพีแอดเดรสหรือใช้ชื่อเป็นดรรชนีค้นหาไอพีแอดเดรส แต่หากต้องสืบค้นชื่อในเนมสเปซโดยไม่มีดรรชนีย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะจะต้องเริ่มค้นจากรากเข้าไปในทุกจุดจนกว่าจะพบชื่อที่ตรงกับไอพีแอดเดรสที่ต้องการ วิธีช่วยค้นจึงต้องจำเป็นต้องจัดให้มีดรรชนีไอพีแอดเดรสในทำนองเดียวกับดรรชนีโดเมน วิธีการนี้ทำได้โดยการปรับแปลงไอพีแอดเดรสที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็นเสมือนชื่อโดเมนตามลำดับชั้นและวางตำแหน่งของไอพีแอดเดรสนี้ให้อยู่ภายใต้โดเมนที่จัดขึ้นมาโดยเฉพาะซึ่งได้แก่โดเมน .in-addr.arpa
เนื่องจากไอพีแอดเดรสแบ่งออกเป็น 4 หลัก แต่ละหลักมีได้ 256 ค่า จาก 0 ถึง 255 โดเมนที่อยู่ภายใต้โดเมน .in-addr.arpa จึงจัดให้มีได้ 256 โดเมนย่อยจาก 0 ถึง 255  โดเมนย่อยระดับแรกจะสมนัยกับอ็อกเท็ต [4] แรกของไอพีแอดเดรส แต่ละโดเมนที่เป็นตัวเลขต่างก็มีโดเมนย่อยลงไปอีก 256 โดเมนย่อยและสมนัยกับอ็อกเท็ตที่สองของไอพีแอดเดรส จนกระทั่งถึงโดเมนย่อยสุดท้ายที่สมนัยกับอ็อกเท็ตที่สี่ของไอพีแอดเดรสและมีตัวชี้ไปยังชื่อโดเมนที่ต้องการ
ชื่อโดเมนจากซ้ายไปขวาแสดงความเจาะจงมากไปสู่ความเจาะจงน้อย ซึ่งกลับทิศทางกับไอพีแอดเดรสที่เขียนแสดงความเจาะจงจากน้อยไปมาก การเขียนโดเมนของไอพีแอดเดรสจึงสลับลำดับกันเพื่อให้เข้ากับหลักการของชื่อโดเมน เช่น 158.108.2.71 เป็นไอพีแอดเดรสของเครื่อง nontri.ku.ac.th จะมีชื่อโดเมนประจำคือ 71.2.108.158.in-addr.arpa การสืบค้นชื่อจากแอดเดรส 158.108.2.71 จะต้องเริ่มจาก .arpa, .in-addr และ .158, .108, .2 และ .71 ตามลำดับ แอดเดรสลักษณะนี้จึงเรียกว่า แอดเดรสผกผัน [5](Reverse address) ซึ่งสื่อถึงแอดเดรสที่เขียนกลับทิศกับไอพีแอดเดรสตามแบบปกติ (Forward address) โครงสร้างชื่อโดเมน .in-addr.arpa มีลักษณะดังรูปที่ 3
โครงสร้างต้นไม้กลับหัวที่แสดงถึงระบบชื่อโดเมนเช่นในรูปที่ 3 เป็นเพียงรูปเชิงนามธรรมที่อธิบายถึงภาพโดยรวมของดีเอ็นเอสในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตามที่กล่าวไว้แล้วว่าไม่มีหน่วยงานใดที่มีฐานข้อมูลคลุมทั้งโครงสร้าง หากแต่ใช้การ มอบอำนาจการดูแลโดเมน (domain delegation)



ความหมายของการมอบอำนาจการดูแลโดเมนคือ ผู้ดูแลโดเมนระดับบนไม่จัดการโดเมนระดับล่างโดยตรง หากแต่ให้ผู้ดูแลโดเมนระดับล่างมีสิทธิ์ขาดในการดำเนินการทุกอย่างในโดเมนระดับล่างนั้น ผู้ดูแลโดเมนย่อยอาจเพิ่มชื่อเครื่องในฐานข้อมูลหรือสร้างโดเมนย่อยได้ตามต้องการ ในโดเมนย่อยหนึ่งๆหากมีโดเมนย่อยลงไปอีกก็อาจจะใช้วิธีมอบอำนาจเพื่อลดภาระการดูแลได้ในทำนองเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้อาจเปรียบเทียบกับระบบงานในบริษัทที่ผู้จัดการฝ่ายอาจมอบหมายงานให้หัวหน้าแผนกรับผิดชอบงานเป็นส่วนๆ
ในโดเมนหนึ่งๆจะมีการมอบอำนาจการดูแลหรือไม่นั้นเป็นนโยบายของผู้บริหารโดเมนโดยตรง บางโดเมนอาจมีการสร้างโดเมนย่อยแต่ไม่มีการมอบอำนาจใดๆเลย หรืออาจมีการมอบอำนาจเฉพาะบางโดเมนย่อยเท่านั้น วิธีสร้างและมอบอำนาจดูแลโดเมนย่อยในดีเอ็นเอสมีกรรมวิธีเทคนิคเฉพาะซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของรายงานฉบับนี้ ในที่นี้จะอธิบายเพียงหลักการมอบอำนาจซึ่งเกี่ยวพันกับความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องโดเมนและโซนที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไป
โดเมนและโซน
ความหมายของ โซน (zone) คือโดเมนย่อยในดีเอ็นเอสที่มีการมอบอำนาจหน้าที่ให้มีผู้ดูแลเฉพาะ ภายในโซนอาจแบ่งให้มีโซนย่อยออกไปอีกได้ตามคณะหรือหน่วยงาน แต่ละโซนจะมีเนมเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลประจำโซน
เมื่อผู้ดูแลระบบได้รับมอบอำนาจจัดการโซน ผู้ดูแลระบบจะติดตั้งเนมเซิร์ฟเวอร์ประจำโซนและสร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บชื่อเครื่องกับไอพีแอดเดรสในโซนด้วยตนเอง การจัดการโดยผู้ดูแลระบบคือความหมายของการได้รับมอบอำนาจ เนมเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลในโซนใดๆจะมี อำนาจหน้าที่ (authority) ในโซนนั้น ตัวอย่างของการได้รับมอบอำนาจดูแลโดเมนระดับบนสุดมีดังเช่น .com, .net และ .org ดูแลโดยบริษัทเวริไซน์   .mil ดูแลโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ และโดเมนระดับประเทศจะดูแลโดยผู้ได้รับมอบอำนาจให้เป็นนายทะเบียนชื่อโดเมนของประเทศนั้นๆ เป็นต้น
เนมเซิร์ฟเวอร์
ผู้ดูแลโซนจะติดตั้งมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ (master name server) และ สเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์(slave name server) ประจำโซน [6] มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์และสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์ต้องเป็นเครื่องต่างเครื่องกัน มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เป็นเนมเซิร์ฟเวอร์ที่อ่านข้อมูลประจำโซนจากแฟ้มข้อมูลที่เก็บในระบบข้อมูล (เช่นฮาร์ดดิสค์) โซนๆหนึ่งจะมีมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว ส่วนสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์จะสำเนาข้อมูลมาจากมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์มาเก็บไว้โดยถ่ายโอนผ่านเครือข่าย สเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์มีได้หลายเครื่องเพื่อทำหน้าที่เป็นเนมเซิร์ฟเวอร์สำรองเมื่อมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถให้บริการได้ การจดทะเบียนชื่อโดเมนจึงต้องระบุชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์อย่างน้อยสองชื่อ โดยที่ชื่อแรกคือชื่อมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ และอีกชื่อหนึ่งคือสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์
มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์จะบรรจุข้อมูลประจำโซน ผู้ดูแลดีเอ็นเอสจะเพิ่มหรือลบชื่อโฮสต์หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น เมื่อถึงเวลาที่กำหนดสเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์จะถ่ายโอนข้อมูลจากมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์มาโดยอัตโนมัติเพื่อให้ข้อมูลตรงกัน การถ่ายโอนนี้เรียกว่า การถ่ายโอนโซน (zone transfer)
กระบวนการทำงานของดีเอ็นเอสประกอบด้วย รีโซลเวอร์ (resolver) ซึ่งเป็นโปรแกรมในเครื่องไคลเอ็นต์ที่ขอบริการดีเอ็นเอสที่กำหนดว่าเครื่องนั้นอยู่ในโดเมนใด และต้องติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์ใด
กระบวนการเรโซลูชัน
เนมเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้เพียงให้บริการข้อมูลในโซนที่อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่เท่านั้น หากแต่ต้องให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นทั่วทั้งเนมสเปซให้กับเนมเซิร์ฟเวอร์อื่นที่ขอบริการ ตัวอย่างเช่น เนมเซิร์ฟเวอร์ในสังกัด ku.ac.th อาจขอบริการถามหาชื่อโฮสต์ในสังกัด nectec.or.th โดยอาศัยเนมเซิร์ฟเวอร์ของ nectec.or.th กระบวนการสืบค้นชื่อโดยเนมเซิร์ฟเวอร์นี้เรียกว่า เนมเรโซลูชัน (name resolution) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เรโซลูชัน(resolution)
  เรโซลูชันของดีเอ็นเอสมีหลักการทำงานแบบไคลเอ็นต์เซิร์ฟเวอร์ รีโซลเวอร์ทำหน้าที่เป็นไคลเอ็นต์และเนมเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ดังรูปที่ 4 ทั้งรีโซลเวอร์และเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บรักษาข้อมูลที่สืบค้นได้ไว้ในแคช เนมเซิร์ฟเวอร์จะสืบค้นข้อมูลในแคชก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หากพบก็จะใช้ข้อมูลในแคชตอบกลับไป ปกติแล้วเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บข้อมูลในแคชเพียงระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงลบทิ้งไปเพราะข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา


รูทเนมเซิร์ฟเวอร์
เนมเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องต่างมีข้อมูลเฉพาะโซนที่ดูแลอยู่เท่านั้น หากรีโซลเวอร์ร้องขอการสอบถามข้อมูลโซนตนเอง เนมเซิร์ฟเวอร์จะช่วยค้นข้อมูลนอกโซนของตนเองให้
อินเทอร์เน็ตจัดให้มี รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ (root name server) เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นการหาข้อมูลในเนมสเปซ เนมเซิร์ฟเวอร์สามารถสืบค้นข้อมูลทุกจุดของเนมสเปซโดยติดต่อกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ รูทเนมเซิร์ฟเวอร์มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถให้บริการได้แล้วกระบวนการเรโซลูชันทั้งอินเทอร์เน็ตจะหยุดชะงัก อินเทอร์เน็ตจึงจัดให้มีรูทเนมเซิร์ฟเวอร์กระจายตัวในต่างพื้นที่กันจำนวน 13 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ได้แก่ a.root-servers.net, b.root-servers.net, c.root-servers.net, … , m.root-servers.net  ดังตารางที่ 4 ทั้งนี้ a.root-servers.net ทำหน้าที่เป็นรูทเนมเซิร์ฟเวอร์หลักและที่เหลืออีก 12 ตัวเป็นรูทเนมเซิร์ฟเวอร์รองที่จะทำสำเนาข้อมูลจาก a.root-servers.net เป็นระยะๆ
ตารางที่ 4 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์
ที่มา  : ftp://ftp.rs.internic.net/domain/named.root
รูปที่ 5 แสดงที่ตั้งของรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ทั้ง 13 เครื่อง โดยที่ 10 เครื่องกระจายตัวในอยู่ในสหรัฐอเมริกา อีก 3 เครื่องอยู่ในลอนดอน สต็อกโฮล์ม และโตเกียว รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ทั้ง 13 เครื่องมิได้รับภาระการถามหาชื่อโดยตรงให้กับไคลเอ็นต์ทุกครั้ง หากแต่เป็นจุดทางเข้าระดับบนสุดโดยมีเนมเซิร์ฟเวอร์ระดับที่สองของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและองค์กรต่างๆและเนมเซิร์ฟเวอร์สำรองอีกจำนวนมาก ขณะที่เนมเซิร์ฟเวอร์ระดับถัดไปคือเนมเซิร์ฟเวอร์ ccTLDs นั้นเมื่อไคลเอ็นต์ถามหาไอพีแอดเดรสจากชื่อโดเมน ไคลเอ็นต์จะติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์ประจำโดเมนนั้นเพื่อสืบค้นข้อมูล หากเนมเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถหาชื่อได้ก็จะติดต่อกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ และรูทเนมเซิร์ฟเวอร์จะส่งรายชื่อของเนมเซิร์ฟเวอร์ที่มีอำนาจหน้าที่ต่อไป
ในระยะแรกนั้นรูทเนมเซิร์ฟเวอร์จะเก็บฐานข้อมูลของโดเมน gTLDs บางโดเมนได้แก่ .com, .net., และ .org แต่เพื่อให้ระบบชื่อโดเมนมีเสถียรภาพและสามารถขยายภาระงานได้ จึงมีการจัดตั้งเนมเซิร์ฟเวอร์อีกหนึ่งชุดภายใต้ชื่อโดเมน gtld-servers.net  และย้ายข้อมูลในหมวด .com, .net., และ .org ออกจากรูทเนมเซิร์ฟเวอร์มาไว้ในเนมเซิร์ฟเวอร์ชุดใหม่ และใช้ชื่อเทียบเคียงกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์คือ a.gtld-servers.net ถึง m.gtld-servers.net  รูทเนมเซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบันจึงดูแลเพียงฐานข้อมูลกลุ่ม ccTLDs และบางหมวดของ gTLDs ได้แก่ .edu  และบางส่วนของ in-addr.arpa

ที่มา  : http://caffeine.ieee.org/spectrum/dec01/departments/websf1.html
รูปที่ 5 รูทเนมเซิร์ฟเวอร์และตำแหน่งที่ตั้ง
ตัวอย่างการทำงานของรีโซลเวอร์
เพื่อให้เห็นขั้นตอนการทำงานของดีเอ็นเอสที่สัมพันธ์กับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ ขอให้พิจารณารูปที่ 6  ซึ่งแสดงกระบวนการเรโซลูชันทีละขั้นตอน ในที่นี้สมมติให้ไคลเอ็นต์ pc.name.co.th ต้องการหาไอพีแอดเดรสของ www.name.com โดยที่ ns.name.co.th คือเนมเซิร์ฟเวอร์ของ name.co.th ขั้นตอนที่เกิดขึ้นจะเป็นดังต่อไปนี้
  1. ไคลเอ็นต์ pc.name.co.th สอบถามหาไอพีแอดเดรสของ www.name.com โดยส่งคำถามให้ ns.name.co.th ตามขั้นตอนที่ 
  2. ในตัวอย่างนี้ ns.name.co.th ไม่มีไอพีแอดเดรสของ www.name.com อยู่ในแคช จึงต้องติดต่อกับรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ตามขั้นที่  เพื่อถามหาแอดเดรสของ www.name.com
  3. เมื่อรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ได้รับคำถาม แต่ไม่สามารถตอบได้โดยตรงเนื่องจากรูทเนมเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้เก็บไอพีแอดเดรสของ www.name.com   หน้าที่ของรูทเนมเซิร์ฟเวอร์คือส่งรายชื่อเนมเซอร์เวอร์ที่ดูแลฐานข้อมูลโดเมน .com กลับมาให้ ns.name.co.th ตามขั้นที่ ƒ   การตอบกลับในลักษณะนี้เรียกว่าเป็นการตอบแบบอ้างอิง (Referal answer) คำตอบที่ส่งไปมักเป็นเนมเซิร์ฟเวอร์ระดับรอง ซึ่งในที่นี้คือเนมเซิร์ฟเวอร์ในชุด gtld-servers.net
  4. รายชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับอาจมีหลายชื่อ ซึ่ง ns.name.co.th จะต้องหาคำตอบต่อไป โดยเลือกชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับเพียงหนึ่งชื่อเพื่อถามแอดเดรสของ www.name.com ใหม่อีกครั้ง ในที่นี้ให้ ns.name.co.th เลือกและส่งคำถามไปยัง f.gtld-servers.net ตามขั้นที่ 
  5. f.gtld-servers.net ตอบกลับโดยรายชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ของโดเมน name.com ซึ่งในที่นี้คือ twinkle.generation.net และ sparkle.generation.net กลับไปตามขั้นที่ 
  6. ns.name.co.th เลือกติดต่อกับ twinkle.generation.net เพื่อสอบถามไอพีของ www.name.com ดังขั้นที่ 
  7. เนื่องจาก twinkle.generation.net เก็บฐานข้อมูลของโดเมน name.com ดังนั้นจึงสามารถตอบไอพีแอดเดรสของ www.name.com  กลับมาตามขั้นที่  ซึ่งค่าที่ได้คือ  205.205.119.75
  8. ขั้นที่ ˆ เมื่อ ns.name.co.th ได้รับไอพีแอดเดรสของ www.name.com ก็จะส่งไอพีแอดเดรสที่ได้นี้ไปให้ pc.name.co.th

    จากกระบวนการเรโซลูชันข้างต้นจะสังเกตเห็นว่าเนมเซิร์ฟเวอร์ในโซนหนึ่งๆทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหาข้อมูลในโซนอื่นๆตามที่ไคลเอ็นต์ในโซนนั้นร้องขอ lการสอบถามข้อมูลของ แต่ละครั้งอาจไม่ได้รับคำตอบโดยตรง หากแต่ได้ชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ซึ่ง “อยู่ใกล้” คำตอบมากยิ่งขึ้น ทีละขั้นจนกระทั่งได้ชื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลที่ต้องการและให้คำตอบในที่สุด
    [1]  มีสถาบันการศึกษานอกสหรัฐอเมริกาได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนด้วย ตัวอย่างเช่นในประเทศไทยมีการจดทะเบียนชื่อโดเมน chula.edu และ chiangmai.edu เป็นต้น
    [2] สถาบันการศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนชื่อโดโมน .edu จะต้องเป็นสถาบันการศึกษาขั้นสูงระดับมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตร 4 ปีหรือวิทยาลัยที่มีหลักสูตร 2 ปี ส่วนโรงเรียนประถมหรือมัธยมในสหรัฐอเมริกาไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนภายใต้ .edu  โรงเรียนเหล่านี้จึงต้องจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้โดเมนประจำประเทศของสหรัฐอเมริกาคือ .us นโยบายการจดทะเบียนชื่อโดเมน .edu สามารถดูได้จากเว็บเพจของ EDUCAUSE (http://www.educause.edu/edudomain/faq.asp)
    [3] ไออานาได้กำหนดให้ใช้ .uk สำหรับสหราชอาณาจักรเมื่อ พ.ศ. 2528 ตามรูปแบบที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในเครือข่าย JANET ซึ่งเป็นเครือข่ายยุคแรกเริ่มของสหราชอาณาจักร (ดู http://www.icann.org/general/ps-report-22mar00.htm) ต่อมาจึงได้กำหนดหลักการให้ใช้ชื่อโดเมนระดับบนสุดสำหรับตามรหัส ISO 3166-1
    [4] อ็อกเท็ต (octet) เป็นศัพท์ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่าย มีความหมายถึงตัวเลขจำนวน 8 บิต หรือใช้ในความหมายเดียวกับคำว่าไบต์
    [5] แอดเดรสผกผันของไอพีรุ่นหกจะอยู่ภายใต้โดเมน ip6.int และใช้หลักการเฉพาะทางเทคนิคสำหรับการแปลงแอดเดรสผกผันซึ่งอยู่นอกเหนือบทความฉบับนี้
    [6] "มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์" และ “สเลฟเนมเซิร์ฟเวอร์” เป็นชื่อที่เรียกตามศัพท์เทคนิคที่กำหนดใน "BIND" ซึ่งเป็นโปรแกรมเนมเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้อย่างแพร่หลาย แต่เดิมจะใช้ชื่อว่า “Primary name server” และ “Secondary name server” ตามลำดับ